บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

แนวคิดวิทยาศาสตร์

สำหรับแนวคิดที่สอง คือ แนวคิดแบบวิทยาศาสตร์

แนวคิดแบบวิทยาศาสตร์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ แนวคิดแบบวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนของกาลิเลโอ นิวตันและ เดสคาร์ต และแนวคิดแบบฟิสิกส์ใหม่ ซึ่งมีองค์ความรู้ที่แหวกกรอบหรือมีลักษณะที่ขัดแย้งกับองค์ความรู้แบบวิทยาศาสตร์เก่าเป็นอย่างมาก

นักวิชาการกำหนดนับยุคของแนวคิดแบบฟิสิกส์ใหม่ นับตั้งแต่ไอน์สไตน์ (Einstein) ได้คิดค้นทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Relative theory) เป็นต้นมา

แนวคิดวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอน

แนวคิดแบบวิทยาศาสตร์เก่ามีความเชื่อว่า องค์ความรู้ (body of knowledge) ที่เป็นความจริง น่าเชื่อถือ เป็นมาตรฐานสากลนั้นจะต้องเกิดจากประสบการณ์ที่สัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ หู ตา จมูก ลิ้น และ กายเท่านั้น 

และองค์ความรู้เหล่านั้นจะต้องมีความเป็นเหตุผล (Rationality) ตามหลักตรรกวิทยานิรนัย (deductive) หรือหลักตรรกวิทยาอุปนัย (inductive)  หรือจากตรรกวิทยาทั้ง 2 ระบบรวมกัน

แนวคิดแบบวิทยาศาสตร์เก่ามีความแตกต่างไปจากแนวคิดของปรัชญา กล่าวคือ นักปรัชญาจะใช้วิธีคิดโดยระบบเหตุผลอย่างเดียว จะไม่ไปทดลอง หรือไปหาประสบการณ์ใดๆ แต่จะคิดพิจารณาจากข้อมูลที่ได้มาเท่านั้น

ส่วนวิทยาศาสตร์เก่านอกจากจะใช้ระบบเหตุผลแล้ว ความรู้ที่เป็นความจริงจะต้องเกิดจากประสบการณ์ด้วย ซึ่ง อาจจะเป็นการทดลอง สังเกต สัมภาษณ์ ฯลฯ เป็นต้น

ความเป็นมาของแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์เก่าข้างต้นมีความเป็นมาดังนี้

วิชาการทั้งหลายในโลกตะวันตกต่างก็แยกออกมาจากปรัชญาตะวันตกทั้งสิ้น ก่อนหน้าที่จะมีวิชาการแยกออกเป็นสาขาต่างๆ นั้น มีการศึกษาเฉพาะปรัชญาอย่างเดียว

เมื่อมีการศึกษาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเจาะลึกมากยิ่งขึ้น และมีผู้มีความเชี่ยวชาญในเฉพาะสาขามากขึ้น มีการเขียนหนังสือเพื่อความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) มากขึ้น ก็แยกออกมาตั้งเป็นสาขาวิชาของตนเอง เช่นวิชานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา เป็นต้น

ในทางทฤษฎีความรู้/ญาณวิทยา (Epistemology) มีนักปรัชญาแยกออกเป็น 2 กลุ่ม ตามความเชื่อในวิธีการหาความรู้คือ เหตุผลนิยม (rationalism) และประสบการณ์นิยม (empiricism)

พวกเหตุผลนิยมเชื่อว่า ความรู้ที่เป็นความจริงจะได้จากกระบวนการคิดด้วยเหตุผล (reason) พวกประสบการณ์นิยมเชื่อว่า ความรู้ที่เป็นความจริงจะได้จากประสบการณ์นิยม ทั้ง 2 กลุ่มก็ยังถกเถียงกันมาถึงปัจจุบัน

แนวคิดแบบวิทยาศาสตร์เก่าได้นำเอาทั้งเหตุผลและประสบการณ์มาเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน จึงเกิดเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific method) ที่สามารถประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์ที่สร้างความสะดวกสบายให้กับมนุษย์อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

อย่างไรก็ดี วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific method) ก็ไม่ใช่ว่า จะไม่มีข้อบกพร่องเสียเลย เป็นต้นว่า วิธีการทางวิทยาศาสตร์ไม่ศึกษาหรือเกี่ยวข้องกับจริยธรรม หรือเวลาจะศึกษาสิ่งใดก็ศึกษาแบบแคบๆ  โลกจึงมีมลพิษเต็มไปหมด

หรือนักวิชาการเชื่อกันผิดๆ ว่า วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีการเดียวที่จะหาความจริงได้  ซึ่งจะได้กล่าวถึงในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

แนวคิดแบบวิทยาศาสตร์เก่าซึ่งเข้ามาในประเทศไทยพร้อมๆ สนธิสัญญาบาวริ่ง (Bowring treaty) ประมาณปี พ.ศ. 2398  ได้ส่งผลกระทบต่อความเห็น/ความเชื่อของพุทธวิชาการในประเทศไทยเป็นอย่างมาก 

เกิดการตีความ (interpret) พระไตรปิฎกแบบใหม่อย่างหลากหลาย  ซึ่งทำให้เกิดผลเสียต่อองค์ความรู้ของพุทธเถรวาทเป็นอย่างยิ่ง เช่น พุทธวิชาการเชื่อว่า มนุษย์เกิดมาเพียงชาติเดียว นรก สวรรค์ พรหม อรูปพรหมไม่มี เป็นต้น

มีการตีความนิพพานแบบใหม่ ซึ่งหมายถึงว่า นิพพานไม่มีตัวตน หรือสูญไปเลย เป็นต้น 

เนื่องจากพุทธวิชาการมีโอกาสที่จะคิดค้นและตีพิมพ์ความเห็น/ความเชื่อของกลุ่มตนได้มากกว่าพุทธปฏิบัติธรรมและพุทธทั่วไป  ในวงวิชาการหรือแวดวงการศึกษาจึงดูเหมือนว่ากลุ่มความคิดของพุทธวิชาการจึงเป็นแนวคิดกระแสหลักของพุทธเถรวาทในประเทศไทยไปโดยปริยาย

แนวคิดของพุทธวิชาการจึงได้เบียดบัง กดทับทำให้มีความเห็น/ความเชื่อว่าแนวคิดของพุทธเถรวาทแบบเดิมซึ่งถูกต้องอยู่แล้วว่า ไม่จริง เป็นแนวคิดที่ไม่ถูกต้อง ไม่ทันสมัย

[เนื่องจากในยุคที่วิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนได้รับความนิยมนั้น นักวิชาการกำหนดเรียกชื่อยุคนั้นว่า ยุคสมัยใหม่ (Modern) ปัจจุบันนี้ นักวิชาการกำหนดยุคว่า ยุคหลังสมัยใหม่ (Post Modern)]

ผลของการเผยแพร่ความเห็น/ความเชื่อของพุทธวิชาการดังกล่าว จึงทำให้พุทธวิชาการไม่เชื่อว่า นรก-สวรรค์มีจริงๆ เป็นเพียงเรื่องที่แต่งขึ้นมาหรือเป็นเรื่องมายา (myth) เพื่อต้องการให้คนทำความดีเท่านั้น...

บทความในชุดเดียวกัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น